ห้องตรวจตา...ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

Blogนี้ผมตั้งใจทำขึ้นเพื่อตอบแทนสดุดีนโยบายบัตรทองประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร
จะรีบไปไหน...จะรีบไปไหน...รอโหลดซักกะเดี๋ยวซิครับ คลิก...นโยบาย"ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"

* ขอขอบคุณที่ติดตามรับชมและช่วยประชาสัมพันธ์ลิงค์ http://eye009.blogspot.com/ ให้แพร่หลาย *
@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * * * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย . . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนต่างๆและระบบการทำงานของดวงตา, โรคตาต่างๆ และวิธีการดูแลรักษาดวงตาอย่างถูกต้องที่สามารถปฏิบัติตามในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง... ขอขอบคุณ www.knowledge.com

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

48 ต่อมลูกหมากโต Benign Prostatic hyperplasia


ต่อมลูกหมากโต Benign Prostatic hyperplasia
By: thailabonline.com

ลักษณะทั่วไป: ผู้ชายเมื่อมีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากมักจะโตไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามสังขาร ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ต่อเมื่อมีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป ผู้ชายบางคนอาจมีต่อมลูกหมากโตและแข็ง กดท่อปัสสาวะได้ และกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่แข็งแรงพอจะบีบต้านแรงกดของต่อมลูกหมาก จึงทำให้เกิดมีอาการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ โรคนี้อาจพบได้ประมาณ 10% ของผู้ชายสูงอายุ

ต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้นได้อย่างไร: ต่อมลูกหมากในผู้ชายที่โตเต็มที่จะประมาณเท่ากับลูกเกาลัด เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอก (ชนิดธรรมดา) โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เมื่อเซลล์แตกตัวมากขึ้นก็ทำให้ขนาดต่อมลูกหมากโตขึ้นเรื่อยๆจนไปกดหรือเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดขึ้น

อาการ: ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ต้องออกแรงเบ่ง ปัสสาวะพุ่งไม่แรง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง (ตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นถ่ายบ่อย) แต่ละครั้งออกได้ทีละน้อย บางครั้งอาจถ่ายออกเป็นเลือด หรืออาจมีอาการขัดเบาจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยมักมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบากดังกล่าวอยู่เป็นแรมปี จนในที่สุด จะมีอาการถ่ายปัสสาวะไม่ออกเลย เนื่องจากท่อปัสสาวะถูกต่อมลูกหมากกดจนอุดตัน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตึงที่ท้องน้อย และคลำได้ก้อนของกระเพาะปัสสาวะที่มีปัสสาวะคั่งอยู่เต็ม

อาการโดยหลัก:
- อาการระคายเคือง
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะกลางคืน
- ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้

และหากเป็นมากขึ้นจะเริ่มมีอาการอุดตัน เช่น ปัสสาวะต้องเบ่ง ปัสสาวะลำเล็กลง ปัสสาวะไม่สุด และอาจลงท้ายด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเล็ดราด จนถึงไตทำงานลดลง

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมี 2 ระยะคือ

ระยะแรก: จะมีอาการปัสสาวะบ่อย จากที่เคยลุกขึ้นปัสสาวะในตอนกลางคืน 1-2 ครั้ง หรือไม่ลุกเลย จะลุกขึ้นบ่อย 3-4 ครั้งขึ้นไปจนรบกวนการนอนหลับ ในเวลากลางวันก็มีอาการปัสสาวะบ่อยแต่คนไข้จะปรับตัวได้จนไม่รู้สึก

ระยะที่สอง: ต่อมาจะรู้สึกว่าปัสสาวะนานกว่าจะออก ต้องเบ่งบางครั้งต้องรอ 1-2 นาทีจึงจะออกและจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปัสสาวะไม่พุ่ง แทนที่จะพุ่งไปข้างหน้าก็พุ่งน้อยลง พอปัสสาวะเสร็จยังมีหยดออกมาอีก ในที่สุดจะปัสสาวะไม่ออกเลย

สำหรับท่านใดที่มีอาการดูคล้ายกับอาการของต่อมลูกหมากโต แนะนำให้รีบมาปรึกษาแพทย์หรือทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะเนื่องจากยังมีอีกหลายภาวะที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ภาวะปัสสาวะบ่อยจากมีปริมาณปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อยกลางคืนจากการนอนไม่หลับ หรือเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำมูก โดยปกติ เมื่อพบแพทย์มักจะมีการตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ การคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก เพื่อดูขนาด ความแข็ง ความขรุขระที่ผิวของต่อมลูกหมาก(เพื่อดูมะเร็งต่อมลูกหมาก) ความรู้สึกเจ็บ(เพื่อดูเรื่องต่อมลูกหมากอักเสบ)

อาการแทรกซ้อน: อาจทำให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือภาวะไตวาย

ในคนไข้ที่มีอาการน้อยๆ ควรเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร

จุดใหญ่คือคนที่อายุมากขึ้นจะมี ปัญหาเรื่องปัสสาวะแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นมากเป็นน้อย วิธีปฏิบัติตัวคือ

1. หลักเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ ก่อนนอนอย่าดื่มน้ำมาก และให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน เพราะกลางคืนจะได้ไม่ต้องลุกขึ้นบ่อย กลางวันไปไหนก็อย่ากลั้นปัสสาวะ ปวดแล้วก็ควรจะปัสสาวะ เพราะกลั้นแล้วจะทำให้เป็นมากขึ้น

2. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ปัสสาวะออกมาเยอะ

3. อย่านั่งจักรยานหรือทำอะไรที่สะเทือนต่อมลูกหมาก เพราะจะทำให้ปัสสาวะไม่ออก

4. ถ้าเป็นไปได้ควรมีการร่วมเพศบ้าง เวลามีน้ำเชื้อออกมาบ้างจะทำให้ต่อมลูกหมากไม่บวม

ข้อแนะนำ

1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอนติสปาสโมดิก, ยากระตุ้นประสาทอัตโนมัติ (sympathomimatic) เพราะอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออกได้

2. โรคนี้เป็นภาวะที่ไม่รุนแรง และมีทางรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าปล่อยไว้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงได้

3. อาการถ่ายปัสสาวะลำบากในผู้ชายสูงอายุ อาจมีสาเหตุจากโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากหรือมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะได้ ซึ่งบางครั้งอาจแยกอาการจากต่อมลูกหมากโตไม่ออก ดังนั้นทางที่ดี ควรแนะนำให้ผู้ชายสูงอายุที่มีอาการปัสสาวะลำบากไปตรวจที่โรงพยาบาลทุกราย


การตรวจร่างกายที่ให้รายละเอียดของต่อมลูกหมากได้มากที่สุดคือการตรวจทางทวารหนัก โดยหมอจะเอานิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมากดูว่ามีความผิดปกติบ้างหรือไม่


วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

47 อีกหนึ่งโรคฮิตของ"คนบ้าทำงาน"


โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection (UTI)
By: health.phahol

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หมายถึงเกิดการอักเสบของระบบขับปัสสาวะซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบไปด้วย ไต(kidney) และท่อไต(ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ(bladder) และท่อปัสสาวะ(urethra)

ไตทำหน้าที่กรองของเสียเป็นปัสสาวะและนำออกทางท่อไตสู่กระเพาะปัสสาวะ และขับออกทางท่อปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก พบว่าผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย 8-10 เท่า ประมาณว่าคุณผู้หญิง 1 ใน 5 คนเป็นเคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะปกติประกอบด้วยน้ำและเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคโดยมากมาจากทางเดินอาหารจากอุจจาระลุกลามมาท่อปัสสาวะ(urethra) ทำให้เกิดการอักเสบเรียก Urethritis

หากเชื้อนั้นลามเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเกิดการอักเสบ เรียก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystitis

และหากไม่ได้รักษาเชื้อจะลุกลามไปท่อไต และไต เรียก กรวยไตอักเสบ Pyelonephritis

เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E. coli เป็นเชื้อปนเปื้อนจากอุจจาระ นอกจากนั้นยังพบว่าเชื้อ Chlamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดท่อปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์การรักษาต้องรักษาทั้งคู่

ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

* ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ

* ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต

* ผู้ที่คาสายปัสสาวะ

* ผู้ป่วยที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียเช่นโรคเบาหวานประสาทไขสันหลังอักเสบ

* ผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายและตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย

* การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักจะพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากคาสายสวนปัสสาวะ

ผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

ผู้ป่วยที่มีท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วจะปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกง

ผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการ ปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดออก

ผู้ป่วยที่มีกรวยไตอักเสบ pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

ชนิดของการติดเชื้อ

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง การติดเชื้อที่รูเปิดของปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ และท่อไต ถือว่าเป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง อาการมักไม่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิต ยกเว้นคนไข้มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน การติดเชื้อที่ไตแบ่งตามกายวิภาคเป็นการติดเชื้อที่กรวยไต ติดเชื้อที่เนื้อไต ติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆไต อาการมักรุนแรงตามข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายๆข้อ ดังนี้

* มีไข้สูงหนาวสั่้น
* เจ็บปวดบริเวณสีข้าง ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง ร้าวไปด้านหลัง
* อ่อนเพลีย รับประทานน้ำและอาหารไม่ได้
* น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วจากความเจ็บป่วย ไข้สูง
* คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร กินข้าว ดื่มน้ำไม่ได้
* ความดันโลหิตตก
* ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึม เบลอ ไม่พูดไม่จา ฯลฯ

ข้อแนะนำ

1. ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว

2. ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะก็ควรเข้าห้องน้ำทันที ไม่ควรอดทนอั้นไว้

3. สำหรับผู้หญิงหลังจากปัสสาวะแล้วควรจะทำความสะอาดโดยเช็ดจากหน้าไปหลัง เพราะบริเวณทวารหนักอาจจะมีเชื้อโรคจากลำไส้ ถ้าทำความสะอาดเช็ดจากหลังมาหน้าอาจจะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคในทางเดินปัสสาวะได้

4. คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบ ควรดูแลไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเพราะจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

5. หลังทานยาปฏิชีวนะควรจะทานโยเกิร์ตที่ประกอบไปด้วยจุลชีพที่มีประโยชน์ตาม การรับประทานโยเกิร์ตนั้นมีประโยชน์เพราะเป็นแลคโตบาซิลัส หากทานเป็นประจำจะป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในลำไส้และทางเดินปัสสาวะ คลิกที่นี่...วิธีทำโยเกิร์ตรับประทานเอง

6. รับประทานผัก ผลไม้ อาหารเสริมที่มีวิตามินซีเป็นองค์ประกอบจะมีประโยชน์ ทำให้ทางเดินปัสสาวะเป็นกรดยากต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ

7. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้เราห่างไกลจากโรคได้