40... ข้ออ้างของคนที่ไม่อยากเห็นความเจริญคือคำว่า"ทำไม่ได้"
41... ผมโคตรสงสัย...ทำไมทักษิณเขาบินไปไหนมาไหนได้ พ่อแม่เมิงจะชักตายหรือครับ
42... เสียดายเวลาที่ผ่านมา 5 ปีมากๆเลยนะฮ้า
43... Wow!!! พรุ่งนี้(27ส.ค.54) นายกฯปู ลดราคาน้ำมัน
44... ประชาชนกำลังมีความสุข...อย่าชักใบให้เรือเสียเลยพ่อมหาจำเริญ
46... ก๊อก ๆ ๆ รมต.ที่ดูแลสื่อของรัฐ ทำอะไรอยู่ ?????
นักเรียนโรงเรียนบ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่ เคยได้รับแจกคอมพิวเตอร์พกพาจากองค์กรการกุศล เมื่อ 3 ปีก่อนตั้งแต่อยู่ชั้น ป.1 ปัจจุบันอยู่ชั้น ป.3 นักเรียนเหล่านี้ ได้ใช้งานทำการบ้าน ส่งคุณครูด้วยคอมพิวเตอร์พกพาอย่างคล่องแคล้ว ส่วนครูผู้ดูแลมองว่า ประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดกับเด็กอย่างแท้จริง อยู่ที่ครูผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และการออกแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์พกพานี้
แต่ยังไงเด็กๆก็ยังต้องพัฒนากล้ามเนื้อ มือ ตา ซึ่งต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น การวาดภาพ การเขียนหนังสือ เพราะระบบประสาทและร่างกายมนุษย์กับการพัฒนาสมองจะเติบโตสัมพันธ์กัน Tablet PC ก็คือเครื่องมือที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ ที่เด็กไทยมีโอกาสที่จะได้รู้จักนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ตั้งแต่เล็กๆ เพื่ออนาคตจะได้รู้จักเอาผลิตผลทางเทคโนโลยีมาพัฒนาตัวเองต่อไป
นายกฯปูเยี่ยมเยือน บรูไน 10 กันยายน 2554
เตือน!! ปวดต้นคอ ไหล่ ปวดร้าวเสียวและชาที่แขนและมือ อย่านอนใจ รีบไปพบหมอ...ตรวจหาสาเหตุและรักษาโดยเร็ว ก่อนที่จะเป็นอัมพาต
By: หมอต๋อ
คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอ (Cervical Spine) ทั้งหมด 7 ข้อ หรือที่เรียกว่ากระดูก C1-C7 ระหว่างกระดูกแต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกคั่นกลางทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือนโช๊คอัพเพื่อดูดซับและกระจายแรงอัด ส่วนกระดูกที่เราคลำได้เป็นตุ่มๆ ที่อยู่ด้านหลังของคอนั้นเป็นกระดูกที่ยื่นออกจากส่วนหลังของกระดูกคอ ตรงกลางของกระดูกนี้มีลักษณะเป็นรูให้ประสาทไขสันหลังและหลอดเลือดสอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกคอแต่ละข้อจะมีช่องว่างให้รากประสาทงอกออกมา เพื่อนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อที่ไหล่ แขนและมือ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆ กลับไปยังสมอง
กระดูกคอมีขนาดเล็กแต่ต้องแบกรับน้ำหนักของศีรษะที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงเกิดความบอบช้ำบาดเจ็บได้ง่ายและเสื่อมได้เร็วกว่า ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาท หลอดเลือดและไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก ปวดร้าวเสียวและชาที่แขนและมือ พร้อมทั้งอาการอื่นๆ ที่สลับซับซ้อน จนบางครั้งนึกไม่ถึงว่าการเจ็บปวดทรมานนี้มาจากกระดูกคอเรานี่
สาเหตุโรคกระดูกคอที่พบบ่อย
ภาวะกระดูกคอเสื่อม กระดูกคอที่เสื่อมลงตามวัยนั้นอาจจะไปกดทับเส้นประสาท หลอดเลือดหรือไขสันหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น การหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนานๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งดูเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น
คอเคล็ดหรือยอก เกิดจากคอมีการเคลื่อนไหวเร็วเกินไปหรือรุนแรงเกินไป เช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การเอี้ยวตัวเพื่อหยิบของข้างหลัง การหกล้ม การเล่นกีฬาหรือโยคะ การนวดหรือการดัดตัว เป็นต้น ทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อคอถูกยืดมากหรือมีการฉีกขาดจนเกิดอาการปวดคอ
ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
ข้ออักเสบ ข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจทำให้กระดูกคออักเสบไปด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
อาการอักเสบของร่างการ เช่น คออักเสบ หูอักเสบ เป็นต้น อาจทำให้เป็นโรคกระดูกคอหรือกระตุ้นให้อาการหนักขึ้น
ความเครียดทางจิตใจ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อคอตึงตัวเป็นประจำจนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอได้
โรคกระดูกคอมีชนิดใดบ้าง
กระดูกคองอกกดทับรากประสาท กระดูกคอแต่ละข้อมีรากประสาทงอกออกจากไขสันหลังเพื่อควบคุมการทำงานของไหล่แขนและมือ เมื่อกระดูกคอเสื่อมลงตามวัย ข้อต่อจะหลวงหรือไม่แข็งแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอเรื้อรัง ถึงแม้ว่าบางรายอาจไม่มีอาการปวดคอก็ตาม แต่ก็จะรู้สึกเมื่อยคอเป็นประจำ
ต่อมาร่างกายมีการปรับสภาพโดยพยายามสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสื่อมไป กระดูกที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า หินปูน หรือ กระดูกงอก ประกอบกับหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและบางลง ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อกระดูกคอแคบลง ในที่สุดไปกดทับจากประสาทและเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอและสะบัก
บางครั้งรู้สึกเสียวหรือชาและมีเสียงกรอบแกรบเวลาหันคอ หากปล่อยไว้เรื้อรังจะมีอาการปวดร้าวเสียวหรือชาที่แขนและมือ อาการจะเป็นมากเวลาเงยหน้า อาจมีการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อที่แขนและมือด้วย
กระดูกคอกดทับไขสันหลัง หินปูนที่เกาะตามกระดูกคอหรือกระดูกคอที่เสื่อมจะทรุดลงมากดทับไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ แขนชา ปวดเมื่อย อ่อนแรงโดยเฉพาะหัวเข่าจะรู้สึกอ่อนแรง เวลายืนจะโคลงเคลง ก้าวขาไม่ค่อยออก ผิวหนังปวดแสบ ปวดร้อน อาจควบคุมปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้และสุดท้ายอาจเป็นอัมพาต
กระดูกคอกดทับหลอดเลือดแดง กระดูกคอมีรูให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงสอดผ่าน เมื่อกระดูกคอและหมอนรองกระดูกเสื่อม ลงจะทำให้รูนี้แคบลง หลอดเลือดแดงก็จะเป็นตะคริวหรือถูกกดทับเลือดจึงไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการปวดเวียนศีรษะ ปวดตุบๆ ที่ท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ วูบล้มลงอย่างกะทันหัน แต่ไม่หมดสติ สามารถลุกขึ้นได้เองอย่างรวดเร็วเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แขนขาอ่อนแรง แขนชา หยิบของแล้วร่วง เวลาเงยหน้าหรือหันคออย่างกะทันหันจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ฯลฯ
กระดูกคอกดทับประสาทซิมพาเธติก ประสาทซิมพาเธติกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ความดันโลหิต การขยับตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ตลอดจนกล้ามเนื้อเรียบในอวัยวะและต่อมขับหลั่งต่างๆ ในร่างกาย หากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อมและกดทับเส้นประสาท ก็จะเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน รู้สึกศีรษะหนักๆ ปวดท้ายทอย สายตาพร่า ปวดแน่นเบ้าตา ตาแห้ง เห็นแสงว็อบแว็บ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูงขึ้น ฯลฯ
ปวดคอเนื่องจากกล้ามเนื้อตึงตัว กล้ามเนื้อบริเวณคอมีโครงสร้างซับซ้อนและทอสานเกี่ยวพันกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเราอยู่ในท่าเดียวนานๆ เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เขียนหนังสือ เป็นต้น กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณคอก็จะตึงตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจนเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยต้นคอ และไหล่แล้วจะลามไปที่สะบักและแขนด้วย
เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงเกร็งนานๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อกระดูกคอ ทำให้กระดูกคอเคลื่อนและเกยทับกันได้เช่นกัน ส่วนการหนุนหมอนที่สูงเกินไปหรือผิดท่าจนทำให้เกิดอาการคอตกหมอนนั้นก็เกิดจากการตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อคอเช่นกัน แต่ผู้ที่มีอาการคอตกหมอนเป็นประจำแสดงว่ากระดูกคอเริ่มเสื่อมแล้ว
หากมีอาการปวดแขน แล้วเกิดความสงสัยว่า เป็นเพราะอะไรถึงได้ปวดแขน อย่าเดา...เนื่องจากอาการปวดแขนเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
1. ส่วนของคอ เช่น กล้ามเนื้อคออักเสบ หรืออาจจะเกิดจากข้อต่อคออักเสบ หรือที่รุนแรงกว่านั้นคือหมอนรองกระดูกสันหลังคอกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดแขน หรือปวดร้าวมาที่แขนได้
2. กล้ามเนื้อบ่าอักเสบ ทำให้มีอาการปวดแขนได้
3. เอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ
4. กล้ามเนื้อสะบักอักเสบ
5. ข้อไหล่ติด
6. เอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ เช่น tennis’ elbow หรือ golf ’s elbow
7. เส้นประสาทอักเสบ
ฯลฯ
ลักษณะอาการ จะปวดแขนส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ปวดต้นแขนด้านหน้าหรือด้านหลัง ปวดแขน หรือในบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดคอ, ปวดไหล่, ปวดบ่า, ปวดสะบัก, ปวดหัว, ปวดข้อศอก, ปวดมือ หรือปวดนิ้ว หากมีอาการชาแขน มือ ร่วมด้วย หากเป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนแรงของแขน หรือมือร่วมด้วย ควรรีบตรวจหาสาเหตุและรีบรักษาโดยเร็ว หากปล่อยอาการลุกลามมากขึ้น ในบางรายเริ่มจากปวดแขนจนปวดทั้งตัวได้
รีบไปพบหมอ...ตรวจหาสาเหตุและรักษาโดยเร็ว ก่อนที่จะเป็นอัมพาต