ห้องตรวจตา...ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

Blogนี้ผมตั้งใจทำขึ้นเพื่อตอบแทนสดุดีนโยบายบัตรทองประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร
จะรีบไปไหน...จะรีบไปไหน...รอโหลดซักกะเดี๋ยวซิครับ คลิก...นโยบาย"ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"

* ขอขอบคุณที่ติดตามรับชมและช่วยประชาสัมพันธ์ลิงค์ http://eye009.blogspot.com/ ให้แพร่หลาย *
@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * * * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย . . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนต่างๆและระบบการทำงานของดวงตา, โรคตาต่างๆ และวิธีการดูแลรักษาดวงตาอย่างถูกต้องที่สามารถปฏิบัติตามในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง... ขอขอบคุณ www.knowledge.com

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

46 โรคจอประสาทตาเสื่อม...

วันนั้นวันพุธที่ 5 มกราคม 2554 คุณหมออุดมนัดผมเพื่อถ่ายภาพจอประสาทตา ในใบนัดไม่ให้ผมขับรถเองและให้ผมพาญาติไปด้วย เพราะหลังจากถ่ายภาพจอประสาทตา ดวงตาของผมจะมืดมองเห็นภาพไม่ชัดประมาณ 5 ถึง 6 ชั่วโมง

หลังจากถ่ายภาพจอประสาทตาของผมเสร็จ คุณหมออุดมพลิกแฟ้มประวัติการรักษาของผม เริ่มอ่านตั้งแต่แผ่นแรกจนถึงแผ่นสุดท้ายแล้วเขียนข้อความเพิ่มลงไป 2-3 บรรทัด แล้วเงยหน้ามองผมซึ่งเป็นคนไข้ลำดับสุดท้ายของวันนั้น

“จอประสาทตาทั้งสองข้างของคุณธนวุฒิดีเยี่ยม...ยังแจ๋ว”

ผมซักถามข้อสงสัยอีก 2-3 ข้อ และได้รับคำตอบคำอธิบายจนกระจ่าง

“อายุ 64 จอประสาทตาเยี่ยมอย่างนี้ อยู่ได้อีกนานครับ” คุณหมออุดมมองผมแล้วพูดยิ้มๆทิ้งท้ายเป็นนัยๆ “คนสุดท้ายของวันนี้...”

อิอิ...แล้วอีก 2-3 วันต่อมา ผมก็ได้รับทราบข่าวดีตำแหน่งใหม่ของคุณหมอ...

ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข




โรคจอประสาทตาเสื่อม...


จอประสาทตาอยู่ที่ไหน?

โดยทั่วไปจอประสาทตามักหมายถึง retina ส่วนจุดรับภาพหรือจุดศูนย์กลางรับภาพชัดจะหมายถึง macula ซึ่งอยู่ส่วนหลังของดวงตา ทำหน้าที่รับแสงและส่งออกไปยังสมองในรูปของสัญญาณไฟฟ้า ไปทางกระแสประสาท ทำให้เราเห็นภาพได้

โรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร?

โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่มีความผิดปกติ เกิดขึ้นในบริเวณจุดศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา โรคนี้มักพบได้มากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จึงเรียกว่า Age-related macular degeneration (AMD)

ในผู้ป่วยบางราย การเสื่อมของจอประสาทตา เกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยอาจไม่ทันสังเกตเห็น ในขณะที่ บางรายอาจเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามโรคนี้จะทำให้สูญเสียการมองเห็นโดยเฉพาะภาพตรงกลาง แต่ผู้ที่เป็นจะยังสามารถมองเห็นทางด้านขอบข้างของภาพได้อยู่ เช่น มองเห็นคน แต่ส่วนของใบหน้าเบลอมองเห็น ไม่ชัด ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมนี้ยังคงสามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่อาจทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น อ่านหนังสือ เย็บผ้า ได้ลำบาก

โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. แบบแห้ง (Dry AMD) พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการเสื่อมสลายและบางลงของจุดศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา (Macula) จากการเสื่อมตามอายุ (Aging) ทำให้เห็นเป็น ภาพเบลอ ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไป จอประสาทตาทำงานได้แย่ลง การมองเห็นก็อาจจะเสื่อมลงเรื่อยๆ

2. แบบเปียก (Wet AMD) สาเหตุเกิดจากการที่มีเส้นเลือดที่ผิดปกติงอกอยู่บริเวณใต้จอประสาทตา เส้นเลือดเหล่านี้แตกง่าย ทำให้เกิดเลือดและของเหลวที่อยู่ภายใน ไหลซึมออกมา ทำให้จุดกลางรับภาพบวม ผู้ที่เป็นจะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว ต่อมาอาจเกิดการทำลายของจอประสาทตาอย่างรวดเร็ว เมื่อเซลล์ประสาทตาตายผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็น โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดนี้ทำให้ เกิดการสูญเสียการมองเห็น อย่าง รวดเร็ว และมีความรุนแรงมากกว่าแบบแห้ง (Dry AMD)

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

พบว่ามีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ เช่น คนที่มีสายตาสั้นมากๆ หรือคนที่เป็นโรคติดเชื้อบางอย่าง แต่สาเหตุส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้สูงอายุ จึงทำให้เชื่อว่าเป็นกระบวนการเสื่อมสภาพของร่างกายหรือที่เรียกว่า aging เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร


ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Aged related macula degeneration) ได้แก่

*อายุ จอประสาทตาเสื่อมพบได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

*พันธุกรรม แพทย์แนะนำให้ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ เข้ารับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก 2 ปี

*เชื้อชาติและเพศ พบอุบัติการณ์ของโรคจอประสาทตาเสื่อมมากในคนผิวขาว เพศหญิง และอายุมากกว่า 60 ปี

*บุหรี่ มีการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจน

*ความดันโลหิตสูง คนไข้ที่ต้องรับประทานยาลดความดันเลือด มีระดับของไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง และระดับแคโรทีนอยด์ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD)

*วัยหมดประจำเดือน พบว่าผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจน จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

*นักวิจัยยังคงเชื่ออีกว่าการขาดวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูล-อิสระ เช่น วิตามินซีและอี หรือเกลือแร่ที่มีส่วนสำคัญในการมองเห็น อาทิเช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ลูทีน (Lutein) และซีแซนเทียม (Zeaxanthium) ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเกิด AMD ได้อีกด้วย

อาการของ AMD เป็นอย่างไร

โรคจอประสาทตาเสื่อม อาจมีอาการแตกต่างกันในผู้ที่เป็นแต่ละรายและยากที่จะสังเกตความผิดปกติในช่วงแรก โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างหนึ่งยังมองเห็นได้ดี คนไข้อาจไม่สังเกตถึงความผิดปกติไปหลายปี แต่ถ้ามีจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นในตาทั้ง 2 ข้าง คนไข้จะรู้สึกถึงความผิดปรกติในการมองเห็นอย่างรวดเร็ว

อาการส่วนใหญ่ของ Dry AMD คือ การมองเห็นภาพเบลอ ทำให้เห็นหน้าคนไม่ชัด จำหน้าบุคคลไม่ได้ อาจทำให้ต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ หรือผู้ป่วยบางคนอาจพบมีอาการผิดปกติโดยสังเกตมีตามัวลงเพียงเล็กน้อย


อาการเริ่มแรกของ Wet AMD คือ เริ่มเห็นเส้นตรงเป็นเส้นโค้ง บิดเบี้ยว เห็นภาพสีซีดจางกว่าปกติ และอาจเห็นเป็นจุดมืดดำที่ตรงกลาง

อาการเริ่มแรกที่อาจนำไปสู่การเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่

มองเห็นภาพเบลอ

เห็นเส้นตรงเป็นเส้นโค้ง

ภาพมีสีซีดจางไป

อ่านหนังสือได้ลำบาก

แยกแยะหน้าคนได้ยาก

เห็นเป็นจุดดำที่บริเวณศูนย์กลางของภาพ

การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นจอประสาทตาเสื่อม

ถึงแม้โรคจอประสาทตาเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การตรวจพบแต่เนิ่นๆ และรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยป้องกันการเสื่อมไม่ให้รุนแรงมากยิ่งขึ้นได้ ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่ท่านควรทำได้แก่

1. หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำสม่ำเสมอ แม้วินิจฉัยว่าเป็นจอประสาทตาเสื่อม เพราะในบางรายที่เป็น Dry AMD อาจพัฒนากลายเป็น Wet AMD ดังนั้นเมื่อพบอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณควรรีบปรึกษาแพทย์

2. หากมีภาวะจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ท่านควรพยายามปรับตัวกับภาวะสายตาเลือนรางให้ได้ และฝึกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยการมองเห็น (Low vision aid) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถใช้การมองเห็นที่เหลืออยู่ ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างดีที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น